มาดูกันต่อนะคะ สำหรับการหายใจในแบบสุดท้าย
3) การหายใจแบบลึก หรือการหายใจจากท้องน้อย
คือ การที่ท้องน้อยกระเพื่อมเข้าและออกขณะที่เราหายใจ มาดูวิธีปฏิบัติกันค่ะ
Deep Breathing or breathing from stomach
> While you are breathing, your stomach is moving in and out.
> This breathing technique fits for doing Yoga & Meditation.
Besides, it helps you to get relax and calm.
How to Practice :
1. Sitting in Vajrasana with your left hand on your stomach
(don't push your hand hard on stomach) and close your eyes.
2. Inhale with your stomach moving out then hold the breathe
for a while.
3. Exhale with your stomach moving in then hold the breathe
for a while.
4. Trying to relax and don't force your breathe.
5. Practice until you are familiar to it.
6. The Most Important thing is
"Where there is a breathe, there is a mindfulness"
Lets watch the clip how to do.
การหายใจแบบยาว จะทำให้ร่างกายผ่อนคลายและมีจิตใจที่เยือกเย็น นอกจากนี้ ยังเหมาะแก่การทำสมาธิและการฝึกโยคะ อีกด้วย
เมื่อเราเข้าใจการหายใจทั้ง 3 ระดับดีแล้ว ให้เราสังเกตดูว่าในเวลาที่เรา
ผ่อนคลาย ไม่มีความกังวลใดๆ เราจะมีลักษณะการหายใจแบบไม่เร่งรีบ คือ มีลมหายใจเข้าที่ลึก มีช่องว่างระหว่างลมหายใจเข้าและออก และมีลมหายใจออกที่ยาว เมื่อสิ้นสุดลมหายใจออก ก็มีช่องว่างพอประมาณ ก่อนที่ลมใหม่จะเริ่มไหลเวียนเข้าสู่ร่างกาย
ให้สังเกตว่าในขณะที่เราหายใจเข้าลึกและออกยาวนั้น ร่างกายจะมีอาการผ่อนคลาย รู้สึกได้ว่าอวัยวะต่างๆภายในทำงานอย่างไม่เร่งรีบ กล้ามเนื้อมีการคลายตัวและผ่อนคลาย การหายใจที่สมดุล ควรจะมีปริมาณลมหายใจเข้าและออกที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเท่ากัน เพื่อให้ร่างกายได้รับลมใหม่เข้าไป ร่างกายจะต้องขับลมเก่าออกให้หมดก่อน
การหายใจออกที่ดีนั้น ควรหายใจออกจนสุดลม (เหมือนกับการที่เราเป่าลมออกปากให้นานที่สุดจนแน่ใจว่าไม่มีลมเหลืออยู่แล้ว) แต่ต้องไม่นานจนขาดลม เพราะการขาดลมจะทำให้เรารีบหายใจเข้า เมื่อหายใจออกจนสุดแล้ว จึงเริ่มหายใจเข้าอย่างช้าๆ โดยระหว่างลมหายใจออกและเข้าจะมีช่วงที่ไม่มีลมเข้า - ออกอยู่เป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยธรรมชาติ เป็นช่วงที่เซล์สภายในปอดปรับสภาพการทำงานจากการดูดซึมก๊าซออกซิเจนเป็นการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่องว่างระหว่างลมหายใจจึงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการหายใจอย่างถูกต้อง
สำหรับการหายใจเข้าที่ดีนั้น ควรจะเข้าให้ถึงทั่วทุกอณูที่ปอดและอวัยวะภายในต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นทางเดินหายใจพึงจะจุได้โดยไม่รู้สึกว่าฝืน
การหายใจเข้าทั่วทุกอณูของอวัยวะภายใน จะทำให้เซล์สบนพื้นผิวในระบบทางเดินหายใจและภายในปอดที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซถูกใช้งานอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ร่างกายสามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซดีและก๊าซเสียได้อย่างเต็มที่ ลมหายใจเข้าจะสุดเมื่อรู้สึกว่าเต็มและไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากับลมหายใจออก เมื่อหายใจเข้าจนสุดแล้ว จะมีช่องว่างระหว่างลม
ที่ร่างกายใช้ในการปรับสภาพการทำงานที่คล้ายกับเมื่อสุดลมหายใจออก เพียงแต่สลับการทำหน้าที่จากการคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นการดูดซึมก๊าซออกซิเจน
สังเกตได้ว่า ร่างกายมีจังหวะการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ตรงข้ามกับจังหวะ
การหายใจของเรา คือ คายก๊าซเสียเมื่อหายใจเข้าและดูดก๊าซดีเมื่อหายใจออก
ขอให้ผู้ฝึกได้ฝึกปฎิบัติการหายใจในแบบต่างๆและเลือกใช้การหายใจแต่ละแบบให้เหมาะสมกับสิ่งต่างๆที่เราเลือกทำในแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะการหายใจแบบลึก ควรฝึกให้คุ้นเคยอยู่เป็นประจำเพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการฝึกโยคะในชีวิตประจำวันด้วยนะคะ
สุดท้าย ลมหายใจอยู่ที่ใด ให้มีสติอยู่ ณ ที่นั้นด้วยเสมอค่ะ ขอให้ทุกท่านมีสติอยู่กับการฝึกใช้ลมหายใจนะคะ
แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ
ขอขอบคุณ สมาชิก (คุณปนัดดา) ที่มีส่วนช่วยในการถ่ายทำด้วยค่ะ :)
อ้างอิง : รายงานแผนการสอนอาสนะหลักและอาสนะวิเคราะหฺ์ โดยผู้อบรมโยคาจารย์รุ่นที่ 16 (กลุ่มคุณชวนพิศ)
ปี 2553 ณ หฐราชาโยคาศรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น