เมื่อเรารู้จักวิธีการหายใจ การนั่งที่เหมาะสมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนต่อไป คือ "การปรับสมาธิ" นะคะ ต้องบอกก่อนว่า การปรับสมาธิไม่ใช่การนั่งสมาธินะคะ เริ่มงงแล้วใช่มั้ยคะว่า ต่างกันอย่างไรหนอ??
การปรับสมาธิ ทำไปเพื่อการปรับคลื่นความคิดและอาการเกร็งของร่างกายให้เรียบและสงบลง ก่อนการเริ่มฝึกโยคะเท่านั้นค่ะ เราจึงไม่ทำนาน เพราะถ้าทำนานเกินไปจะง่วงและซึม บางคนอาจหลับไปก่อนการเริ่มฝึกนะคะ
เมื่อเราเข้ามาในห้องฝึก อย่างแรกที่ควรทำ คือ พยายามปรับสมาธิก่อนเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายและจิตใจสงบจากความวุ่นวายที่ติดตัวเราเข้ามาจากโลกภายนอก บางคนมาเข้าคลาสสาย กระหืดหระหอบมา พอกางเสื่อโยคะเสร็จปุ๊บเริ่มทำอาสนะตามคนอื่นเลย เราก็จะมีแต่ความคิดที่ยุ่งเหยิงและร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจากการกระหืดกระหอบมานั่นแหละค่ะ ยังไม่ทันเริ่มฝึกก็เหนื่อยแล้ว แถมฝึกๆไปสมาธิแตกกระจายอีก
การปรับสมาธิไม่ต้องมีรูปแบบนะคะ เอาแบบที่เราสบาย ไม่เกร็งและผ่อนคลายค่ะ แต่ที่นำมาให้ชมกันนั้น เป็นรูปแบบทั่วไปที่ใช้ในการฝึกในห้องเรียนค่ะ ถ้ายังไม่รู้จะทำแบบไหนก็ทำตามไปก่อนได้นะคะ พร้อมแล้วมาชมกันเลยค่ะ
Pre Meditation is not meditation so we will not do this for more than
one minute , otherwise; we might feel sleepy instead. We do
Pre meditation just for adjust our mind and body to be calm so that
we will get samathi and be ready to practice yoga further.
This also helps relax our body and calm our mind, reduce heart
and pulse rate to be normal and help us think in positive.
If you need to meditate for a long time, please do after finish
practicing yoga. When finish doing yoga, your body are flexible and
your mind are calm enough to start meditating.
How to do:
1. Sit in Sukhasana with both hands on your knees and palms turn up.
2. Your back, neck and head straight then close your eyes gently.
3. Focus on your breathe, Inhale and exhale deeply for just 30 sec. to
one minute.
4. When you are done, just stay in this position with eyes still close
to go to the next practice, Pranayama 1 Anuloma Viloma.
ประโยชน์ทางกาย
1.เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
2.ปรับอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลาย เป็นการปรับความคิดให้เป็นเชิงบวก
3.ปรับการเต้นของชีพจรและหัวใจให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประโยชน์ทางจิต
เป็นการผ่อนคลายจิตใจและรวบรวมสมาธิเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติโยคะ
ถ้าจะนั่งสมาธิแบบนานๆเหมือนที่เราฝึกวิปัสสนา แนะนำให้นั่งหลังฝึกโยคะจบแล้วค่ะ เพราะในการฝึกโยคะ ถ้ามีสติอยู่กับลมหายใจและท่วงท่าได้ตั้งแต่ต้นเท่ากับเราได้เริ่มทำสมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) ไปช่วงหนึ่งแล้ว หลังจากนั้น ถ้ามานั่งปฏิบัติต่อจะทำได้ดี ผ่อนคลายและสงบมากค่ะ อันนี้ ลองทำมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องแล้วแต่จริตของแต่ละคนด้วยนะคะ บางคนก็อาจจะไม่ชอบหรือเหนื่อยเกินไปแล้วค่ะ
หวังว่าทุกท่านคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกัน ตอนต่อไปค่ะ
ติดตามมาตลอด บางอย่างในสตูิดิโอ ไม่มีบอก
ตอบลบอยากรู้เรื่องจักระ มันจะข้ามเรื่องพื้นฐานไปไหม
หรือไม่ก็อยากรู้ประโยชน์ของการหายใจแบบ อุชชายี
อยากทราบอะไรเกี่ยวกับจักระคะ ลองถามมานะคะ
ตอบลบสำหรับการหายใจแบบอุชชายีนั้น ทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดและราบเรียบขณะที่เราหายใจ ให้เราบีบการเคลื่อนของลมหายใจในลำคอแคบลง ซึ่งจะทำให้มีเสียงหายใจเบาๆ เหมือนมีวาวล์ในลำคอแล้วเราปิดวาวล์เล็กน้อยเพื่อควบคุมลมหายใจ มาตรวัดสำหรับการคุมลมหายใจนี้ คือ เสียงของเรา ซึ่งควรจะนุ่มนวลและไม่ต้องใช้ความพยายามหรือทำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดแต่อย่างใด เมื่อทำจนชำนสญแล้วจะมีเสียงดังทั้งในขณะที่หายใจเข้าและออก วิธีหายใจแบบนี้ จะทำให้เราได้ยินเสียงและรู้สึกถึงลมหายใจในขณะที่มันลึกและยาวขึ้น
การฝึกหายใจแบบนี้มีประโยชน์สองอย่าง คือ
1 เราจะใกล้ชิดกับการเคลื่อนของลมหายใจของเรามากขึ้นซึ่งจะทำให้เราสามารถรักษาความตื่นตัวได้มากขึ้นในระหว่างการฝึกอาสนะ
2 เสียงจะบอกให้เรารู้ว่า เราควรหยุดการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าอาสนะเมื่อไร ถ้าเราไม่สามารถรักษาให้ระดับเสียง นุ่มนวล สม่ำเสมอและเงียบได้แสดงว่า เราฝึกเกินขีดความสามารถของตัวเองแล้ว เพราะฉะนั้น คุณภาพการหายใจจึงเป็นดัชนีที่ชัดเจนที่สุดในการวัดคุณภาพการฝึกอาสนะของเรา
อุชชายียังเป็นหนึ่งในเทคนิคการฝึกปราณายามะ เป็นการหายใจด้วยลำคอ เป็นการเกร็งหลอดลมเล็กน้อยด้วยความจงใจ ทำให้ช่องอากาศที่ผ่านเล็กลงจะทำให้เกิดเสียงเบาๆในลำคอขณะหายใจ อุชชายีแปลว่า สิ่งที่ทำให้ลำคอโล่งและควบคุมบริเวณหน้าอก ต้องพิจารณาว่าการหายใจแบบนี้เหมาะกับเราด้วยหรือเปล่า โดยอาจปรึกษาครูของคุณก็ได้
ส่วนประโยชน์ของการทำปราณแบบอุชชายี มีดังนี้ค่ะ
1. เป็นการหายใจที่ทำให้เกิดความสงบ ทำให้จิตใจผ่อนคลาย ระงับ
อาการกระวนกระวาย
2. ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความร้อน เหงื่อออกง่ายสำหรับคนที่เหงื่อไม่ค่อย
ออก
3. ช่วยบรรเทาอาการของinsomnia หรืออาการนอนไม่หลับ
4. ปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้ช้าลงและมีประโยชน์สำหรับคนทีเป็น
ความดันสูง
5. ช่วยให้เรามุ่งความสนใจไปที่ตำแหน่งลมหายใจในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้เรามีสมาธิ
ไม่แน่ใจว่าช่วยตอบคำถามคุณ Waramon มั้ย แต่หวังว่าจะได้ประโยชน์บ้างนะคะ :)
ตอบลบ