4.29.2554

ว่าด้วยการปรับสมาธิ (Pre Meditation)



เมื่อเรารู้จักวิธีการหายใจ การนั่งที่เหมาะสมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนต่อไป คือ "การปรับสมาธิ" นะคะ ต้องบอกก่อนว่า การปรับสมาธิไม่ใช่การนั่งสมาธินะคะ เริ่มงงแล้วใช่มั้ยคะว่า ต่างกันอย่างไรหนอ?? 


การปรับสมาธิ ทำไปเพื่อการปรับคลื่นความคิดและอาการเกร็งของร่างกายให้เรียบและสงบลง ก่อนการเริ่มฝึกโยคะเท่านั้นค่ะ เราจึงไม่ทำนาน เพราะถ้าทำนานเกินไปจะง่วงและซึม บางคนอาจหลับไปก่อนการเริ่มฝึกนะคะ 


เมื่อเราเข้ามาในห้องฝึก อย่างแรกที่ควรทำ คือ พยายามปรับสมาธิก่อนเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายและจิตใจสงบจากความวุ่นวายที่ติดตัวเราเข้ามาจากโลกภายนอก บางคนมาเข้าคลาสสาย กระหืดหระหอบมา พอกางเสื่อโยคะเสร็จปุ๊บเริ่มทำอาสนะตามคนอื่นเลย เราก็จะมีแต่ความคิดที่ยุ่งเหยิงและร่างกายที่เหน็ดเหนื่อยจากการกระหืดกระหอบมานั่นแหละค่ะ ยังไม่ทันเริ่มฝึกก็เหนื่อยแล้ว แถมฝึกๆไปสมาธิแตกกระจายอีก 


การปรับสมาธิไม่ต้องมีรูปแบบนะคะ เอาแบบที่เราสบาย ไม่เกร็งและผ่อนคลายค่ะ แต่ที่นำมาให้ชมกันนั้น เป็นรูปแบบทั่วไปที่ใช้ในการฝึกในห้องเรียนค่ะ ถ้ายังไม่รู้จะทำแบบไหนก็ทำตามไปก่อนได้นะคะ พร้อมแล้วมาชมกันเลยค่ะ


Pre Meditation is not meditation so we will not do this for more than 
one minute , otherwise; we might feel sleepy instead. We do 
Pre meditation just for adjust our mind and body to be calm so that
we will get samathi and be ready to practice yoga further. 
This also helps relax our body and calm our mind, reduce heart 
and pulse rate to be normal and help us think in positive.
If you need to meditate for a long time, please do after finish 
practicing yoga. When finish doing yoga, your body are flexible and
your mind are calm enough to start meditating.


How to do:
1. Sit in Sukhasana with both hands on your knees and palms turn up.
2. Your back, neck and head straight then close your eyes gently.
3. Focus on your breathe, Inhale and exhale deeply for just 30 sec. to
    one minute. 
4. When you are done, just stay in this position with eyes still close
    to go to the next practice, Pranayama 1 Anuloma Viloma.



ประโยชน์ทางกาย
1.เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
2.ปรับอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่อนคลาย เป็นการปรับความคิดให้เป็นเชิงบวก
3.ปรับการเต้นของชีพจรและหัวใจให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประโยชน์ทางจิต
เป็นการผ่อนคลายจิตใจและรวบรวมสมาธิเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติโยคะ


ถ้าจะนั่งสมาธิแบบนานๆเหมือนที่เราฝึกวิปัสสนา แนะนำให้นั่งหลังฝึกโยคะจบแล้วค่ะ เพราะในการฝึกโยคะ ถ้ามีสติอยู่กับลมหายใจและท่วงท่าได้ตั้งแต่ต้นเท่ากับเราได้เริ่มทำสมาธิขั้นต้น (ขณิกสมาธิ) ไปช่วงหนึ่งแล้ว หลังจากนั้น ถ้ามานั่งปฏิบัติต่อจะทำได้ดี ผ่อนคลายและสงบมากค่ะ อันนี้ ลองทำมาแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องแล้วแต่จริตของแต่ละคนด้วยนะคะ บางคนก็อาจจะไม่ชอบหรือเหนื่อยเกินไปแล้วค่ะ 

หวังว่าทุกท่านคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ แล้วพบกัน ตอนต่อไปค่ะ



4.28.2554

นั่งให้เหมาะสมกันก่อนลงมือปฏิบัติ (Sitting properly before start)






การนั่งเพื่อฝึกปราณหรือปรับสมาธิในแบบโยคะ อาจมีหลายรูปแบบ แต่แบบที่นิยมใช้กันและนำมาเสนอนี้จะมีด้วยกัน 3 แบบตามวีดีโอนะคะ ส่วนจะเลือกนั่งแบบใด ก็ควรดูข้อจำกัดของตนเองด้วยค่ะ 


yam


ท่าสิทธะ จะมีผลข้างเคียงต่อคนเป็นโรคหัวเข่า 
ท่าปัทมา จะเป็นอันตรายสำหรับคนเป็นโรคหัวเข่าเช่นกัน
ท่าที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือ ท่าสุขขะค่ะ ซึ่งใครๆก็สามารถนั่งได้ และถ้าเมื่อยระหว่างการนั่งทำปราณก็ให้สลับเท้าด้านในกับด้านนอกได้นะคะ 


คนส่วนใหญ่มักจะชอบนั่งไขว่ห้างจึงทำให้เชิงกรานยกสูงและบิดมาด้านหน้าหรืกระดูกสันหลังไม่ตรง ทำให้หลังค่อม เพราะฉะนั้น เวลานั่งท่าสุขขะจะกดเข่าให้ติดพื้นได้ยากหรือเวลานั่งต้องเอามือยันพื้นไว้ เพราะปวดหลัง ไม่ต้องกังวลค่ะ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ ร่างกายจะค่อยๆปรับจนนั่งได้เอง ให้เวลาเค้าปรับตัวหน่อยนะคะ อันนี้ ลองมาแล้วกับตัวเอง ใช้เวลาเป็นปีเลยค่ะ ถ้ากลับมานั่งไขว่ห้างอีก ก็เป็นอีกค่ะ 


ถ้านั่งไม่ได้จริงๆ ลองพับผ้าเช็ดตัวแล้ววางไว้ใต้บั้นท้ายแล้วนั่งดูนะคะ แต่ให้นั่งแค่ครึ่งบั้นท้ายพอค่ะ อย่านั่งลงไปเต็มๆ จะช่วยให้นั่งตัวตรงและเข่ากดลงพื้นได้มากขึ้น ช่วยให้สบายขึ้นและไม่กังวลเวลาฝึกค่ะ


ขอขอบคุณ สมาชิก (คุณปนัดดา) สำหรับการร่วมถ่ายทำคลิปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นค่ะ _/\_



There are 3 popular asanas to sit in practicing Pranayama and 
meditation in yoga 
that I've already presented in the clip above.

You can choose the proper one for yourselves while concerning about your body limitations.



1. Sukhasana (easy pose) : 

> Sit with the legs straight in front of the body. 
> Bend one leg and place the sole of the foot on the inside of 
   the opposite thigh. 
> Bend the other leg and place the foot outside near the opposite    
   shin bone
This is the easiest and most comfortable sitting posture. It can 
   be utilized without ill effect by persons who are unable to sit in 
   the more difficult posture. It facilitates mental and physical 
   balance without causing strain or pain.
   

2. Sitthasana (half lotus pose) : 
> Sit with the legs straight in front of the body.
> Bend one leg and place the sole of the foot on the inside of
   the opposite thigh.
> Bend the other leg and place the foot on the top of the 
   opposite thigh.
Those who suffer from sciatica or knee problems should not
    perform this asana.

3. Padmasana (Lotus Pose):
> Sit with the legs straight in front of the body.
> Slowly and carefully bend one leg and place the foot on 
top of 
   the 
opposite thigh. The sole should face upward and 
the heel 
   should be close to the pubic bone.
> When this feels comfortable, bend the other leg and place
   the foot on top of the opposite thigh. Both knees should, 
ideally, 
   touch the ground in the final position.
Those who suffer from sciatica or weak injured knee 
    should not 
perform this asana.
 It is not advisable during 
    pregnancy as the circulation in the legs is reduced.