4.27.2554

ลมหายใจไปไหนสติไปด้วย

สำหรับชาวพุทธที่ปฏิบัติธรรมย่อมระลึกได้ว่า ลมหายใจและสตินั้นเป็นสิ่งทีอยู่คู่กัน จนมีคำกล่าวว่า "ลมหายใจไปไหนสติไปด้วย" ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาดูสักนิดว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิตของแต่ละคน

ในรายการของสิ่งสำคัญในชีวิตที่เราคำนึงถึง มีลมหายใจรวมอยู่ด้วยรึเปล่า? หากไม่มี เป็นเพราะอะไร? ลมหายใจถือเป็นสาระสำคัญที่สุดของชีวิต ความสำคัญของทุกสิ่งจะหมดไปเมื่อชีวิตหมดลมหายใจ เนื่องจากเราต้องหายใจเข้าและออกอยู่ตลอดเวลา หากเรารู้ตัวว่าเรากำลังหายใจเข้าหรือออก ลมหายใจสั้นหรือยาว ระหว่างการหายใจเข้าและออกมีการกลั้นหายใจนานแค่ไหน เท่ากับเรามีการฝึกสติให้อยู่ในปัจจุบันขณะด้วย แต่คนส่วนใหญ่มักไปคิดเรื่องอื่นขณะหายใจ ไม่ย้อนอดีตก็ไปโลกอนาคต แล้วก็หายใจไปเรื่อยๆโดยที่ไม่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ด้วยซ้ำ เพราะการหายใจมันเป็นไปโดยอัตโนมัติซะแล้ว เราจึงไม่เห็นความสำคัญของมัน ควรหรือไม่ที่เราจะมาเริ่มเรียนรู้ลมหายใจและวิธีการหายใจให้ถูกต้องซะที ??

การหายใจ ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการฝึกโยคะเช่นเดียวกับการเจริญสติ ผู้ฝึกจะต้องมีพื้นฐานการฝึกหายใจที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น จะเกิดการบาดเจ็บของปอด ช่องท้องและอวัยวะภายใน หรืออาจจะใจสั่นในขณะฝึก เริ่มจาก การสังเกตการหายใจของตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น เมื่อหายใจเข้า ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างไร และเมื่อหายใจเข้าจนสุดแล้ว ลมหายใจเริ่มออกเมื่อไร เรามาเริ่มฝึกดูลมหายใจกันเลยนะคะ

ริ่มต้น ให้ผู้ฝึกนั่งในท่าวัชระ (นั่งทับส้นเท้า) 
















หรือ ท่าสุขขะ (การนั่งซ้อนเท้าโดยเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างในและอีกข้างหนึ่งวางซ้อนด้านนอก)   


       
ผ่อนคลาย แล้วสังเกตลักษณะการหายใจของตนว่าเป็นเช่นไร หายใจสั้นหรือยาวแค่ไหน ระหว่างลมหายใจเข้าและออกมีช่องว่างนานแค่ไหน และขณหายใจ ร่างกายส่วนไหนขยับบ้าง (หน้าอก กระบังลม หรือท้องน้อย) และผู้ฝึกมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไรต่อลมหายใจแต่ละชนิด เพื่อให้ผู้ฝึกสามาสังเกตความรู้สึกได้ชัดเจนขึ้น ให้ผู้ฝึกทำการหายใจแบบเดิมติดต่อกันหลายๆครั้ง เช่น อาจจะลองหายใจเข้าสั้น กลั้น แล้วออกยาว ติดต่อกัน 20 ครั้งแล้วสังเกตดูว่าผู้ฝึกรู้สึกเช่นไร  ให้ผู้ฝึกทดลองหายใจแบบต่างๆ แล้วสังเกตตนเองไปด้วย

การหายใจสามารถแบ่งตามระดับความลึกของลมหายใจออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1) การหายใจแบบตื้น หรือ การหายใจโดยใช้เพียงอกส่วนบน 
คือ การหายใจที่อกกระเพื่อมขึ้น - ลงขณะหายใจ เราสามารถฝึกการหายใจแบบนี้ได้ โดยการนั่งในท่าวัชระ จากนั้นวางมือไว้บนอกเมื่อเราหายใจเข้าอกส่วนบนจะขยาย ขณะที่ท้องน้อยจะแฟบเล็กน้อย และเมื่อหายใจออก อกจะยุบลง ขณะที่ท้องน้อยคืนรูป ใน 1 ชุดให้ทำ 8 ครั้งแล้วพัก โดยอาจฝึกครั้งละ 2 – 3 ชุด

การหายใจแบบตื้นจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ มีเพียงสมองเท่านั้นที่ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ หากทำเป็นครั้งคราวในระยะสั้นๆ (2 - 3 นาที) จะช่วยเพิ่มพลังสมอง แต่ถ้าเราหายใจแบบตื้นอยู่ตลอดเวลา ในระยะยาวร่างกายจะเสื่อมและตัวจะบวม เนื่องจากการขับก๊าซพิษในร่างกายทำได้ไม่เต็มที่

2) การหายใจแบบกลาง หรือ การหายใจโดยใช้กระบังลม
คือ การหายใจที่กระบังลมขยายออกด้านข้างขณะที่หายใจเข้า และหดตัวกลับมาที่เดิมขณะหายใจออก เราเริ่มต้นการฝึกหายใจแบบกลางโดยการนั่งท่าวัชระ มือทั้งสองข้างวางไว้ที่ชายโครง เมื่อหายใจเข้า ชายโครงจะขยายออก ท้องจะแฟบ และเมื่อหายใจออก ชายโครงจะหดตัว ทำติดกัน 20 ครั้ง สลับกับการหายใจแบบตื้น 20 ครั้ง

การหายใจแบบกลางจะทำให้ร่างกายดูดซึมออกซิเจนได้ดีกว่าแบบตื้น ทำให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและมีระบบการเผาผลาญที่ดี เป็นวิธีการหายใจที่เหมาะกับการออกกำลังกาย 



การหายใจโดยใช้กระบังลม

การหายใจในแบบที่ 3 ซึ่งใช้ในการฝึกโยคะนั้น จะเป็นแบบใด มาติดตามกันต่อนะคะ ระหว่างที่รอ ให้ฝึกและทำความเข้าใจกับ 2 แบบแรกไปพลางๆก่อนนะคะ แล้วพบกันค่ะ :)

อ้างอิง : รายงานแผนการสอนอาสนะหลักและอาสนะวิเคราะห์ โดยผู้อบรมโยคาจารย์รุ่นที่ 16 (กลุ่มคุณชวนพิศ) ปี 2553 ณ หฐราชาโยคาศรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น