5.19.2554

BANDHA KRIYA



พันธะกริยา เป็นการบริหารอวัยวะในช่องท้องด้วยการใช้แรงบีบกระแทกของกล้ามเนื้อหน้าท้อง การบีบกระแทกหน้าท้องหรือบั๊มท้องนั้นต้องทำเป็นจังหวะ โดยให้เน้นช่วงที่ดึงหน้าท้องเข้ามา (หรือการแขม่วท้องนั่นเองค่ะ) และไม่ต้องพะวงช่วงปล่อยออก เพราะร่างกายจะรู้และปล่อยออกเองโดยเราไม่ต้องพยายามค่ะ ให้ทำเป็นช่วงๆ ไม่ต้องเร่ง พยายามดึงท้องเข้ามาแรงๆ เริ่มต้นอาจจะยังไม่ต้องทำตามคลิปนะคะ ให้นั่งท่าสุขะหรือวัชระหลังตรง หน้ามองตรง แล้วฝึกดึงท้องก่อนโดยอาจวางมือขวาไว้ที่หน้าท้องเบาๆ แล้วดึงท้องเข้ามาแรงๆเหมือนแขม่วท้องแล้วปล่อยสลับกันไป ยังไม่ต้องบิดตัวจนกว่าจะชำนาญค่ะ 



พันธะกริยาเป็นการฝึกการควบคุมระบบประสาท Solar Plexus (เป็นระบบประสาทที่เลี้ยงอวัยวะภายในช่องท้อง คือ ตับ ไต ลำไส้ใหญ่และเล็ก) ซึ่งปกติจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของจิต จึงต้องใช้กล้ามเนื้อช่องท้องเป็นตัวช่วยควบคุมระบบประสาทนี้อีกที เป็นการกระตุ้นทางอ้อมนั่นเองค่ะ การบั๊มท้องนั้นมีประโยชน์ที่สำคัญ คือ ทำให้ลำไส้บีบตัวเป็นจังหวะ อุจจาระจะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวโดยแรงกระแทกและตะกรันของอุจจาระที่ติดอยู่ตรงผนังลำไส้ใหญ่จะหลุดออกมาด้วย คล้ายๆกับเวลาที่ทำดีท็อกซ์ค่ะ ตัวตะกรันก็คือเศษอุจจาระที่เกาะอยู่ตรงผนังลำไส้ จะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่ได้ จึงทำให้เราเหนื่อย อ่อนเพลียและไม่สดชื่น 


การบั๊มท้องบ่อยๆ เช่น บั๊มครั้งละ 50 ครั้งต่อเซ็ต ทั้งวัน ประมาณ 2 - 3 วันหลังจากนั้นถ้าถ่ายออกมา อุจจาระจะเหม็นมากและถ่ายเยอะมากเพราะตะกรันจะหลุดออกมาด้วย ยิ่งดึงท้องได้แรงแค่ไหน ความสามารถในการเคลื่อนไหวของลำไส้และระบบประสาทก็จะมากเท่านั้น จึงช่วยไม่ให้ท้องอืดหรือตึง คนที่เหนื่อยง่ายสาเหตุหนึ่งมาจากลำไส้ใหญ่หมักดองของเสียไว้เยอะ พยายามทำให้ลำไส้ใหญ่สะอาดไว้ โดยอาจจะทำดีท็อกซ์เดือนละครั้งร่วมกับการทำพันธะนี้ให้บ่อยๆค่ะ


ประโยชน์อื่นๆและข้อควรระวังของพันธะนี้จะเหมือนกับอุฑฑียานพันธะทุกอย่างค่ะ


เป็นอย่างไรบ้างคะ ถ้าอยากมีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย ผิวพรรณสดชื่นเปล่งปลั่งก็อย่ารอช้า รีบทำกันเลยนะคะ ขอให้สวย ขอให้หล่อกันถ้วนหน้าค่ะ ได้ผลแล้ว อย่าลืมบอกกันบ้างนะคะ :)



Bandha Kriya
      This bandha help to exercise abdominal organs by bumping stomach or contracting your stomach strongly. Bumping stomach should be done with the same rhythm by focusing on pulling your stomach in to your back and do not worry about releasing. Don't try to rush but focus on doing rhythmically. For the beginners, don't look at the clip but start practicing by yourselves first. You can sit in Sukhasana or Vajrasana with head and spine up right. Then put your right or left hand on your stomach gently and start contracting and releasing your stomach. Don't twist your body until you get familiar to contract and release your stomach rhythmically.
       This bandha helps you to practice controlling Solar Plexus system (the part of the abdomen including the stomach and celiac plexus that is particularly vulnerable to the effects of a blow to the body wall in front of it) which normally is uncontrollable. 
Bumping stomach aims to remove feces and nonspecific toxins from the colon and intestinal tract. Accumulations of putrefied feces line the walls of the large intestine and that these accumulations harbor parasites or pathogenic gut flora, causing nonspecific symptoms and general ill-health. Therefore; we should do colon detoxification once a month combine with doing this bandha as much as you can.

How to do: 
 1. Sit in Sukhasana with spine and head up right. 
 2. Look at front and close your eyes. Relax your body.
 3. Inhale while extending your arms to be parallel to the floor.
 4. Exhale through your mouth and contract your stomach 
     while turning your body to the left. Hold the breath. Put your 
     left hand on the floor behind buttocks and fingers point back. 
     Your right hand on left knee.
 5. Release your stomach while still holding the breath then start 
     bumping stomach for 20 times (10 times for beginner). 
 6. Inhale and turn your body back to the front and extend your 
     arms parallel to the floor. 
 7. Exhale through your mouth and contract your stomach while 
     turning your body to the right. Hold the breath. Put your right 
     hand on the floor behind buttocks and fingers point back. 
     Your left hand on right knee.
 8. Release your stomach while still holding the breath then start 
     bumping stomach for 20 times (10 times for beginner). 
 9. Inhale and turn your body back to the front and extend your 
     arms parallel to the floor. 
10. Exhale through your mouth and relax your arms down.

Benefits, contra-indication and practice note are the same as Uddiyana bandha.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น