5.16.2554

UDDIYANA BANDHA





สำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านบทความที่แล้วเรื่องพันธะอย่างละเอียด ขอให้สละเวลากลับไปอ่านสักนิดก่อนเพื่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเองนะคะ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มฝึกด้วยตนเองค่ะ สำหรับพันธะที่เราจะฝึกกันต่อจากนี้ คือ อุฑฑียานพันธะ โดยมีชาลันธรพันธะ ผสมอยู่ด้วย เนื่องจากมีการกดคางชิดอกและกระดูกสันหลังต้องตั้งตรงขณะฝึกค่ะ


เนื่องจากอุฑฑียานพันธะจะฝึกเฉพาะในช่วงที่กลั้นหายใจหลังจากหายใจออกเท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนที่ต้องการฝึกพันธะนี้ คือ คุณจะต้องสามารถกลั้นหายใจหลังจากหายใจออกได้เป็นเวลานานโดยไม่ลดทอนคุณภาพของการหายใจเข้าหรือออก ถ้าคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ คุณก็ไม่ควรฝึกพันธะนี้ และในการฝึกชาลันธรพันธะ คุณต้องแน่ใจว่า ไม่มีการตึงที่คอหรือหลังเพื่อที่คุณจะสามารถทำให้กระดูกสันหลังตรงโดยไม่มีปัญหาใดๆในขณะที่ก้มคางลงมา ถ้าคุณพยายามดึงคางลงในขณะที่คอตึงจะทำให้คอตึงมากขึ้นและเกิดอาการปวด สำหรับการฝึกพันธะร่วมกับภัสตริกาปราณายามะจะทำได้เฉพาะกับชาลันธรพันธะเท่านั้น 


จากบทความที่แล้ว การฝึกอุฑฑียานพันธะนั้น กระบังลมและท้องส่วนล่างจะถูกยกขึ้น ในขณะที่เริ่มหายใจออกให้หดท้องเข้ามา เมื่อหายใจออกจนสุดแล้วท้องควรหดเข้าไปเต็มที่ จากนั้นแขม่วท้องขึ้นและหดเข้าไปหากระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้กระบังลมยกขึ้น เมื่อฝึกจนชำนาญ สะดือจะเคลื่อนเข้าหากระดูกสันหลัง ทวารหนักและกล้ามเนื้อหลังจะหดตัว เวลาที่ฝึกพันธะนี้อย่างสมบูรณ์ บริเวณท้องทั้งหมดจะกลวง 


เมื่อเข้าใจหลักการและข้อจำกัดแล้ว มาฝึกไปพร้อมๆกันเลยนะคะ โดยจำไว้ว่า 
  • ไม่ควรบังคับร่างกายและลมหายใจเด็ดขาด !!
  • เวลายกลำไส้ขึ้น พยายามให้ตรงสะดือไม่มีอะไรอยู่เลย ซึ่งจะยังทำไม่ได้ในตอนต้น เมื่อฝึกไปเรื่อยๆจนชำนาญจึงจะสามารถทำได้
  • เวลาทิ้งลำไส้ลง แค่ทิ้งไหล่ลง ตัวไม่ต่องก้มไปข้างหน้า


อุฑฑียานพันธะ ยังเป็นการบริหารลำไส้ด้วยลมปราณ เป็นการบังคับลำไส้ให้ถูกยกขึ้นมาข้างบน เป็นการควบคุมกล้ามเนื้อเรียบซึ่งไม่อยู่ใต้อำนาจของจิต โดยการใช้กล้ามเนื้อลายไปควบคุมกล้ามเนื้อเรียบอีกทีเพื่อให้ต่อมน้ำเหลืองตรงลำไส้เคลื่อนไหวเพื่อที่จะผลักน้ำเหลืองที่เสียออกไปและนำน้ำเหลืองที่ดีเข้ามา จึงเป็นการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ กำจัดเซลส์ร้าย ถ้าน้ำเหลืองดีผิวจะสวยและเวลาเป็นแผลจะหายง่ายค่ะ 

ประโยชน์
1. ช่วยขับสารพิษออกจากลำไส้
2. ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนเลือดที่ช่องท้อง
3. ช่วยกระตุ้นระบบ Solar Plexus (เป็นระบบประสาทที่เลี้ยงอวัยวะภายในช่องท้อง คือ ตับ ไต ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่)
4. ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย การเผาผลาญ การย่อย และการดูดซึม
5. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
6. ช่วยปรับสภาพและกระตุ้นต่อมต่างๆให้ทำงานตามปกติ
7. ช่วยป้องกันการเกิดซีสต์ที่มดลูก รวมทั้งโรคเบาหวาน มะเร็งลำไส้ ลำไส้บวมโต การติดเชื้อที่ทางเดินอาหาร และหน้าท้องตึงแน่น

ข้อควรระวัง
1. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและความดัีนสูง ไม่ควรกลั้นหายใจนาน ให้นับประมาณ 1 - 5 หรือ 1 - 10 แล้วปล่อย
2. ถ้านั่งนานแล้วขาชา ให้เปลี่ยนสลับซ้ายและขวา
3. อย่าทำหลังอาหารทันที ต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังอาหาร


อ้างอิง :The Heart of Yoga

Uddiyana bandha (abdominal contract)
    We will do this bandha combine with Jalandhara bandha. When we practice Uddiyana bandha, we have to press our chin to our chest while our spine straight. The MOST important thing is >> it should be practiced after attaining proficiency in external breath retention, and jalandhara and moola bandhas. Uddiyana bandha is an advanced technique and should be attempted only under the guidance of a competent teacher.
When you do with Jalandhara bandha, you have to make sure that your neck and back are relax while your spine straight. Don't try to press your chin to your chest by forcing your neck, otherwise; you will get neck pain. 

The Sanskrit word uddiyana means  "to rise up" or "to fly upward". This practice is so called because the physical lock applied to the body causes the diaphragm to rise towards the chest. Uddiyana is therefore often translated as  the stomach lift.

How to do:
1. Sit in Sukhasana with the spine erect and the knees in contact 
   with the floor.
2. Press the palms of the hands flat on the knees.
3. Close the eyes and relax the whole body.
4. Exhale through your mouth while contract your abdomen and 
    press you chin to your chest.
5. Inhale deeply through the nostrils while lifting your face upwards.
6. Again exhale fully and hold the breath outside.
7. Lean forward and press down on the knees with the palms of the 
    hands. Straighten the elbows and raise the shoulders, allowing 
    further extension of the spinal cord.
8. Practice jalandhara bandha, pressing the chin against the chest.
9. Contract the abdominal muscles inward and upward. Hold the 
    abdominal lock and the breath outside for as long as you can 
    without straining.
10. For the last hold, slide your palms on the knees forward strongly 
     and imagine that all abdominal organs that are lifted up at first 
     will be released. Then release the abdominal lock, bend the elbows 
     and lower the shoulders. 
11. Raise the head and slowly inhale then exhale through your mouth.
12. Begin the next round. We always do this bandha twice.

Breathing: Uddiyana bandha is performed with external breath 
                 retention only.

Contra-indication: Persons suffering from colitis, stomach or intestinal 
ulcer, diaphragmatic hernia, major abdominal problems, high blood 
pressure, heart disease, glaucoma and raised intracranial pressure 
should not perform this practice. It should also be avoided during 
pregnancy.

Benefits: Uddiyana bandha is a panacea for the abdomen. It stimulates the function of the pancreas and liver and strengthens the internal organs. The digestive fire is stimulated and the abdominal organs are massaged and  toned. The adrenal glands are balances, removing lethargy and soothing anxiety and tension. It improves blood circulation throughout the torso. It stimulates Solar Plexus, which has many subtle influences on the distribution of energy throughout the body. It creates a suction pressure which reverses the energy flow of apana and prana, uniting them with samana and stimulating manipura chakra.

Practice Note: Uddiyana bandha must be practiced on an 
                       empty stomach. The bowels should also be empty. 

Reference:  Asana, Pranayama, Mudra, Bandha

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น