พันธะที่สำคัญที่สุด 3 อย่างได้แก่ ชาลันธรพันธะ (jalan-dhara bandha) อุฑฑียานพันธะ (uddiyana bandha) และมูลพันธะ (mula bandha) ชาลันธรพันธะ ใช้คอและกระดูกสันหลังส่วนบนและทำให้กระดูกสันหลังทั้งหมดเหยียดตรง อุฑฑียานพันธะ มุ่งไปที่การใช้บริเวณกระบังลมและฐานของกระดูกเชิงกราน ส่วนมูลพันธะใช้บริเวณระหว่างสะดือและฐานกระดูกเชิงกราน
ตำแหน่งของพันธะทั้งสาม |
สำหรับอุฑฑียานะพันธะ กระบังลมและท้องส่วนล่างจะถูกยกขึ้น ในขณะที่เริ่มหายใจออกให้หดท้องเข้ามา เมื่อหายใจออกจนสุดแล้วท้องควรหดเข้าไปเต็มที่ จากนั้นแขม่วท้องขึ้นและหดเข้าไปหากระดูกสันหลัง ซึ่งจะทำให้กระบังลมยกขึ้น เมื่อฝึกจนชำนาญ สะดือจะเคลื่อนเข้าหากระดูกสันหลัง ทวารหนักและกล้ามเนื้อหลังจะหดตัว เวลาที่ฝึกพันธะนี้อย่างสมบูรณ์ บริเวณท้องทั้งหมดจะกลวง
มูลพันธะ เป็นการฝึกต่อเนื่องจากอุฑฑียานะพันธะ โดยผ่อนคลายท้องส่วนบนและกระบังลม แต่ท้องส่วนล่างหรือบริเวณใต้สะดือยังหดอยู่ เราเคลื่อนจากอุฑฑียานพันธะไปสู่มูลพันธะ โดยการกลั้นหายใจหลังหายใจออกในขณะที่ฝึกพันธะทั้งสองแบบ และเราสามารถค้างอยู่ในมูลพันธะระหว่างการหายใจเข้าครั้งต่อไปได้
พันธะและอาสนะ
อาสนะที่ดีที่สุดสำหรับฝึกพันธะ ได้แก่ ท่ากลับหัวบางท่าและท่านอนหงายหรือท่านั่งหลังตรงทั้งหมด การฝึกพันธะจะยากมากหรือเป็นไปไม่ได้ในท่าแอ่นหลังและบิดตัว ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง คำเตือน!! ไม่ควรฝึกพันธะตลอดช่วงที่ฝึกอาสนะ ควรฝึกอย่างมีศิลปะและไม่หักโหม การช่วยเหลือจากครูเป็นสิ่งจำเป็น
พันธะและปราณายามะ
พันธะจะช่วยทำให้ปราณายามะมีผลในการชำระล้างมากขึ้นได้ คือ ชาลันธรพันธะ ทำให้ลำตัวเราอยู่ในตำแหน่งที่กระดูกสันหลังตั้งตรง ทำให้ปราณนำพาเปลวไฟไปยังของเสียซึ่งควรจะถูกเผาไหม้ได้ง่ายขึ้น จากนั้น อุฑฑียานพันธะ จะดันของเสียทั้่งหมดไปยังเปลวไฟ ส่วนมูลพันธะ ช่วยให้ของเสียค้างอยู่ที่นั่นนานพอที่มันจะถูกเผาไหม้ได้
เราสามารถฝึกชาลันธรพันธะตลอดตั้งแต่การหายใจเข้า หายใจออก และกลั้นหายใจ อุฑฑียานพันธะจะฝึกได้เฉพาะระหว่างที่กลั้นหายใจหลังจากหายใจออกเท่านั้่น ส่วนมูลพันธะสามารถฝึกได้ตลอดทุกช่วงของการฝึกปราณายามะเช่นเดียวกับชาลันธรพันธะ
ถ้าต้องการฝึกพันธะในระหว่างการฝึกปราณายามะ ก่อนอื่นเราจะต้องฝึกการใช้สัดส่วนลมหายใจให้ได้ก่อน คือ หายใจเข้า ออก และกลั้นได้อย่างสบายๆ เป็นจำนวน 12 รอบของการหายใจ โดยยังไม่ฝึกพันธะ จากนั้นจึงค่อยเริ่มฝึกพันธะได้ เช่นเดียวกันกับการฝึกอาสนะ เราใช้หลักค่อยๆฝึกไป ซึ่งเป็นการฝึกทีละขั้น ด้วยความอดทนโดยไม่มีการบังคับร่างกายและลมหายใจ
ตอนหน้่าเรามาเริ่มฝึกพันธะกันค่ะ ขอให้อ่านให้เข้าใจอย่างละเอียดกันก่อนเริ่มฝึกนะคะ แล้วพบกันค่ะ :)
อ้างอิง : The Heart of Yoga
Bandha
The Sanskrit word bandha means to "hold", "tighten" or "lock". These definitions precisely describe the physical action involved in the bandha practices and their efffect on the pranic body. The bandhas aim to lock the pranas in particular areas and redirect their flow into sushumna nadi (located in your spine) for the purpose of spiritual awakening.
Three important bandhas
1. Jalandhara Bandha (throat lock)
In this bandha, spine always straight and head bend back a bit. Your chin is pressed to chest. As long as chin is pressed to chest and spine straight, we are in Jalandhara bandha. We practice this bandha with many asanas but not all.
2. Uddiyana Bandha (abdominal contraction)
The Sanskrit word uddiyana means "to rise up" or "to fly upward". This practice is so called because the physical lock applied to the body causes the diaphragm to rise towards the chest. Uddiyana is therefore often translated as the stomach lift. After exhalation, you hold the breath outside and contracting the abdominal muscles inward and upward. You hold the abdominal lock and the breath outside for as long as you can without straining. This bandha always performed with external breath retention only.
3. Moola Bandha (perineum contraction)
The Sanskrit word moola means "root", "firmly fixed", "source" or "cause". In this context it refers to the root of the spine or the perineum where mooladhara chakra, the seat of kundalini, the primal energy, is located. Moola bandha is the contraction of specific muscles in the pelvic floor, not the whole perineum. In the male body, the area of the contraction is between the anus and the testes. In the female body, the point of the contraction is behind the cervix, where the uterus projects into the vagina.
In this bandha, we focus the awareness on the perineal/vaginal region. We contract this region by pulling up on the muscled of pelvic floor and then relaxing them.
When performed with Jalandhara bandha: we inhale deeply, retain the breath inside and contract the perineal/vaginal region by pulling up on the muscles of the pelvic floor. Hold the contraction as tightly as possible. Do not strain. You can hold the contraction for as long as the breath can comfortably be retained.
Do not practice bandha with any back bend or twist asanas. Do not practice bandha with all asanas. Do not force yourself and teacher guidance is important for doing bandha.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น