Deva Sakkar |
จบจากการวอร์มทั้งสามท่าไปแล้ว เรามาเริ่มเข้าสู่ลีลาบรรพกันเลยนะคะ ลีลาบรรพ ก็คือ การทำท่าหลายๆท่าต่อเนื่องกันนั่นเอง หรือที่เราเรียกกันว่า วินยาสะ ค่ะ ดังที่เขียนไว้ในบทความเรื่่อง Surya Namaskar นะคะว่าการทำท่าที่ต่อเนื่องนี้ก็ถือเป็นการวอร์มอย่างหนึ่ง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายก่อนเข้าสู่การฝึกอาสนะ เหมือนที่นักกีฬาต้องมีการอบอุ่นร่างกายกันก่อนเริ่มซ้อมนั่นแหละค่ะ การทำท่าต่อเนื่องนี้มีประโยชน์ของแต่ละท่าในตัวมันเองนะคะ เมื่อเอามาต่อเนื่องกันก็ได้ประโยชน์ในหลายส่วนๆแทนที่จะได้เพียงส่วนเดียวค่ะ
เรามาเริ่มเข้าสู่บรรพแรกกันเลยนะคะ เดวาสักการ (Deva Sakkar) เป็นการทำเพื่อสักการะพระจันทร์ ค่ะ อาจจะไม่ชินกันเท่าไร เพราะโดยทั่วๆไปเค้าไม่สอนกันเหมือนการไหว้พระอาทิตย์ค่ะ เดวาสักการนี้มี 6 อาสนะ 11 ท่าค่ะ มาดูกันเลยนะคะ
อาสนะที่ 1 : สถิตปรารถนา (Samathithi)
ประโยชน์ : เป็นการสำรวมกายและจิตให้แน่วแน่มั่นคงอาสนะที่ 2 และ 3 : จันทราสักการะ (Chandra Namaskara)
ประโยชน์
1. ช่วยขับลม
2. ทำให้ระบบการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่ายดีขึ้น
3. เพิ่มการหมุนเวียนเลือด
4. ป้องกันอาการปวดหลัง ไหล่ และคอ
5. เพิ่มการยืดหยุ่นให้หัวไหล่ หลัง
ข้อต่อ คอ สะโพก และข้อเท้า
6. ช่วยคุมการทำงานของต่อมหมวกไต
7. ช่วยปรับกล้ามเนื้อเชิงกรานและ
เส้นประสาทบริเวณสะโพก
8. มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิง
9. ฝึกเป็นประจำจะช่วยรักษาอาการท้องผูก
อาสนะที่ 4 : จตุวิถี (Jatuvithi)
ประโยชน์
1. เพิ่มความสมดุลของระบบประสาทระหว่างมือกับเท้า
2. เป็นท่าปรับจุดการทรงตัว (Center of Gravity) ของร่างกาย
อาสนะที่ 5 : อโถมุขสวาสนะ (Adho Mukha Svanasana)
ประโยชน์
1. ช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายมีความยืดหยุ่น
2. ทำให้เกิดความคล่องตัวของหัวไหล่
3. รักษาอาการปวดเอว หลัง และสะโพก
4. ทำให้ขาและแขนแข็งแรง
5. ช่วยชลอความเหี่ยวย่นของใบหน้า
6. ช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหา
อาสนะที่ 6 : อูฐทวามุขสวานาสนะ (Urdhva Mukha Svanasana)
ประโยชน์
1. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แขน ข้อมือ หน้าท้อง กระดูกสันหลัง
2. ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลัง
3. ช่วยกระตุ้นอวัยวะในช่องท้องให้ทำงานเป็นปกติ
4. ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า เมื่อยล้า และการบาดเจ็บของ
หลังช่วงล่าง
5. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปอดเพื่อช่วยบรรเทาอาการหอบหืด
After finish all 3 warming postures, we will do vinyasa next. Vinyasa is various asanas combined together for practicing continuously. We do vinyasa to warm our body to be flexible so that we are ready to practice further. Vinyasa is combined with many asanas and each asana has its own benefits. When we practice vinyasa, we will get benefits in all parts instead of one. Persons who are good in practicing yoga should be flexible at some level but can practice asanas continuously. The most important thing is "Don't forget your breath" like David Swenson, one of famous yoga teachers, said
"Yoga without breath is not different from Gymnastic".
Let's practicing the first vinyasa, Deva Sakkar, that has 6 asanas and 11 postures. We always practice Deva Sakkar for 5 rounds with Surya Namaskar for 6 rounds.
How to do:
1. Sit in Vajrasana with your palms together at your chest.
Spine straight and look forward. (Samathithi in photo 1 above)
2. Inhale while lifting both arms up, turn palms front and look up.
(Chandra Namasakara in photo 2)
3. Exhale while sliding your hands and body forward, your buttocks
still on your heels. Your chest is on thighs and forehead is on the
floor. (Chandra Namaskara in photo 3)
4. Inhale while lifting body up from the floor. Your knees, toes and both
palms are on the floor. (Jatuvithi in photo 4)
5. Exhale while stretching your hips backward, press your heels and
both palms to the floor with your head down.
(Adho Mukha Svanasana in photo 5)
6. Inhale while dropping your hips down forward but still don't touch
the floor same as your knees and shins. Both arms and spine
straight, shoulders down but open to the back, chest front and look
forward or up not more than 45 degrees. (Urdhva Mukha
Svanasana in photo 6)
7. Exhale while stretching your hips backward, press your heels and
both palms to the floor with your head down. (Adho Mukha
Svanasana in photo 5)
8. Inhale while dropping your knees to the floor. Your toes and both
palms are on the floor. (Jatuvithi in photo 4)
9. Exhale while sliding your body backward and your buttocks are on
the heels. Your chest is on thighs and forehead is on the floor.
(Chandra Namaskara in photo 3)
10. Inhale while lifting both arms up, turn palms front and look up.
(Chandra Namaskara in photo 2)
11. Exhale while dropping both arms beside your body and your palms
together in front of chest. (Samathithi in photo 1)
12. This is one round then repeat all again since the beginning until
5 rounds achieved.
Benefits:
1. Samathithi: helps your body and mind to concentrate to one thing.
2.&3. Chandra Namaskara: help massage and improve the efficiency of
the intestines and digestive organs, relieving ailments such as
constipation and excessive wind. Help stretch and strengthen the
back muscles and separates the individual vertebrae from each other,
releasing pressure on the discs. Help regulate the functioning of the
adrenal glands. Tone the pelvic muscles and the sciatic nerves and is
beneficial for both the male and female reproductive organs.
Increase blood circulation.
4. Jatuvithi: increases balance of hands and feet nerves. Helps adjust
center of gravity of the body.
5. Adho Mukha Svanasana: helps all body muscles to be flexible,
especially shoulders. Relieves sciatica. Strengthens arms, legs, the
nerves and muscles in the limb and back. Helps to increase height by
stretching muscles and ligaments, enabling growing bones to grow
longer. Circulation is stimulated, especially in the shoulder blades.
Improves respiratory system.
6. Urdhva Mukha Svanasana: improves and deepens breathing.
Helps to remove backache and keep the spine supple and healthy.
Tones the ovaries and uterus, and helps in menstrual disorders.
Stimulates the appetite, alleviates constipation and is beneficial for
all the abdominal organs, especially the liver and kidneys.
Can we breather three or four times per posture?
ตอบลบสำหรับลีลาบรรพ การหายใจจะเป็นเข้าต่อหนึ่งอาสนะและออกต่อหนึ่งอาสนะเท่านั้นค่ะ เพราะเป็นลีลาที่ต่อเนื่องเพราะฉะนั้นการหายใจจะเป็นหนึ่งจังหวะกับหนึ่งท่วงท่าพอดี เพราะจะไม่มีการค้างท่านานเหมือนการเข้าอาสนะทั่วๆไป ทั้งนี้ การค้างอยู่ในท่าหนึ่งได้นานเท่าไรขึ้นอยู่กับลมหายใจของแต่ละคนซึ่งสั้นยาวไม่เท่ากันค่ะ หากมีคำถามอื่นหรือยังไม่เข้าใจ ถามได้นะคะ
ตอบลบ