5.06.2554

BHASTRIKA



ภัสตริกา แปลว่า " กระบอกสูบ " เป็นปราณร้อน ( + ) เวลาทำจึงต้องเร็วและแรงมาก ในการหายใจแบบนี้ท้องจะเคลื่อนไหวเหมือนกับกระบอกสูบ

การหายใจแบบนี้มีหลักการโดยทั่วไปเหมือนกปาลภาตี คือ ทำให้ทางเดินหายใจโล่งโดยการหายใจแรงๆ
การหายใจเข้าแรงเกิดจากกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ขยายออกอย่างเต็มที่ ในขณะที่กระบังลมหดตัว ส่วนการหายใจออกแรง เกิดจากการหดเข้าอย่างแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ในขณะที่กระบังลมขยับขึ้นด้านบน อย่างไรก็ตาม ต้องระวังอย่าให้เกิดความตึงเครียดในการหายใจ 

เริ่มแรกอาจทำช้าๆก่อนแต่เน้นที่การหายใจเข้าและออกที่แรง เมื่อฝึกไปสักระยะจนคุ้นแล้วค่อยเพิ่มความเร็ว แต่ควรรักษาจังหวะของการหายใจให้สม่ำเสมอ การหายใจเข้าและออกควรจะแรงเท่าๆกันค่ะ 

ถ้าเริ่มทำแรกๆ อาจจะทำได้ไม่ถึง 40 ครั้ง ก็ไม่ต้องฝืนนะคะ อาจเริ่มจากน้อยๆก่อนสัก 10 - 20 ครั้ง แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนขึ้น แต่จะทำกี่ครั้งก็ตาม จังหวะสุดท้ายให้เงยหน้าขึ้น สูดหายใจให้เต็มที่แล้วกลั้นไว้  ก้มหน้ากดคางชิดอก นับในใจ 1 - 20 แล้วใช้นิ้วกลางมือขวาปิดจมูกซ้ายแล้วหายใจออกขวาให้ท้องแฟบ แล้วจึงพักนะคะ ระหว่างทำ ห้ามอ้าปากเด็ดขาด ให้เข้าและออกทางจมูกอย่างเดียวนะคะ อาจเกิดอาการมึนงงเวลาหายใจเร็วๆ ไม่ต้องตกใจนะคะ ให้หยุดทำแล้วพักสักครู่ หายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ จะดีขึ้นค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มทำกันเลยนะคะ


ประโยชน์
1. ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญภายในเซลส์ ทำให้เหงื่อออกเยอะ อาจจะร้อนวูบวาบตามตัว
2 .ช่วยกระตุ้นต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น ดีสำหรับคนที่เหงื่อไม่ค่อยออกและคนที่ระบบเผาผลาญผิดปกติ
3. ช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนเลือด กระตุ้นให้อ๊อกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้นในขณะเดียวกันก็ขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากตัวมากขึ้น เมื่อทำเสร็จตัวอาจจะชา เพราะกระแสไฟฟ้าชีวภาพอยู่ในตัวมาก เซลส์แต่ละเซลส์จะสว่างเพราะได้รับอ๊อกซิเจนพอเพียง เวลาทำปราณหน้าจึงใส
4. ช่วยกำจัดตะกอนในหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการเสื่อมของหลอดเลือดเนื่องจากติดเชื้อไวรัสบางตัว ถ้ามีตะกอนมากๆหลอดเลือดจะแข็งตัวและหนา ให้สังเกตปัสสาวะ ถ้ามีกลิ่นแรงแบบคาวๆแปลว่าหลอดเลือดมีปัญหา
5. ช่วยกระตุ้นอ๊อกซิเจน เลือด และปราณให้ไปเลี้ยงสมองเพียงพอ จึงช่วยเพิ่มการเรียนรู้และจดจำ สมองปลอดโปร่ง
>> ภัสตริกาเหมาะสำหรับคนที่ความจำไม่ดีหรือความจำถดถอย (คนสูงอายุ) ซึ่งเกิดจากเซลส์สมองเสื่อมเพราะได้รับอ๊อกซิเจนไม่พอ จึงเกิดการแปรปรวนของกระแสชีวภาพในสมองและร่างกาย ซึ่งสาเหตุหลักมาจาก เมตาโบลิซึ่มในสมองลดระดับลง สุดท้ายจะความจำเสื่อม (กลุ่ม bipolar หรือซึมเศร้า)
>> เป็นการกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นจะช่วยกำจัด "ไมอีลินโปรตีน" ซึ่งจะสะสมมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้เนื้อสมองลดลงจึงเกิดการเรียนรู้ช้า เพราะฉะนั้น จึงต้องเพิ่ม  อ๊อกซิเจนให้แก่สมองซึ่งอาจทำได้โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป่าลูกโป่งหรือทรัมเปต
6. ช่วยกระตุ้นอวัยวะในช่องท้องทั้งหมดให้ทำงานดีขึ้น โดยเฉพาะช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ต่อมไทรอยด์
7. ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองให้มีการตื่นตัวและคลายความอ่อนล้าจากสภาวะความไม่สมดุลของการดำเนินชีวิตประจำวัน

ข้อควรระวัง
1. ผู้เป็นโรคหัวใจและความดันสูงไม่ควรทำ
2. ห้ามทำหลัง 2 ทุ่มจะทำให้นอนไม่หลับ
3. หากเกิดอาการมึนงงเนื่องจากหายใจเร็ว ให้พักโดยการหายใจเข้าลึกๆ ออกยาวๆ

Bhastrika (+) (bellows breath)
The Sanskrit word bhastrika means bellows. Thus, bhastrika pranayama is also known as the bellows breath, as air is drawn forcefully in and out of the lungs like the bellows of a village blacksmith. The bellows increases the flow of air into the fire, producing more heat. Similarly, bhastrika pranayama increases the flow of air into the body to produce inner heat at both the physical and subtle levels, stoking the inner fire of mind and body.

How to do:
  1. Sit in Sukhasana with both palms resting on your knees.
  2. Keep the head and spine straight, close the eyes and relax 
     the whole body.
  3. Exhale through your mouth.
  4. Take a deep breath in while lifting your face upwards then 
      hold the breath.
  5. Press your chin to your chest and start exhale forcefully. 
  6. Immediately afterwards breathe in with the same force. 
>> Forceful inhalation results from fully expanding the abdominal 
     muscles and forceful exhalation from firm contraction of the 
     abdominal muscles. Do not strain. 
>> During inhalation, the diaphragm descends and the abdomen 
     moves outwards. During exhalation, the diaphragm moves 
     upward and the abdomen moves inward. The movement should 
     be slightly exaggerated.
>> Don't move any parts of your body and don't shake 
      your bodyOnly your abdomen moves in and out !!
>> Don't open your mouth.
 7. Continue in this manner, counting 40 breaths (20 breaths are 
     enough for beginner).
 8. After 40 breath, inhale while lifting your face upwards then 
     hold the breath.
 9. Press your chin to your chest count 1 - 20 then use your right 
     middle finger close your left nostril and exhale through the 
     right nostril.
10. After end of exhalation, lift your face up right. 
11. Take a rest by inhale deeply through both nostrils and exhale 
      through your mouth slowly. This is one round.
12. Do it again from the beginning. We always do Bhastrika twice.

Practice Note: when accustomed to this style of breathing, 
gradually increase the speed, always keeping the breath rhythmical. 
The force of inhalation and exhalation must be equal. If you get dizzy 
from inhale and exhale forcefully, take a rest by inhale and exhale 
deeply and slowly.

Precautions: Bhastrika is a dynamic practice requiring a large 
expenditure of physical energy. Avoid violent respiration, 
facial contortions and excessive shaking of the body. 

Benefits: This practice burns up toxin and helps balance the humours, 
phlegm, bile, and wind. Because of the rapid  exchange of oxygen and 
carbon dioxide into and out of the bloodstream. This stimulates the 
metabolic rate, producing heat and flushing out wastes and toxins. 
The rapid and rhythmic movement of the diaphragm also massage and stimulates the visceral organs, toning the digestive system. 
Bhastrika reduces the level of carbon dioxide in the bloods. It helps to alleviate inflammation in the throat and any accumulation of phlegm. 
It balances and strengthens the nervous system, inducing peace, 
tranquillity and one-pointedness of mind in preparation for meditation.

Contra-indications: Bhastrika should not be practices by people 
with high blood pressure, heart disease, hernia, gastric ulcer, stroke, 
epilepsy, retinal problems, glaucoma or vertigo. The elderly, those 
suffering from lung diseases such as asthma and chronic bronchitis
those recovering from tuberculosis, or in the first trimester of 
pregnancy are recommended to practice only under the guidance of a 
competent teacher. 

Don't do after 8 pm.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น